ความหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง   เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงหรือพอมีพอกินในปี พ.ศ.  2537  โดยทรงพระราชทานแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักในความสำคัญสำหรับนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา   ที่เน้นการพึ่งพาตนเอง   โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง    ที่สามารถครอบคลุมภาคเกษตรกรรม   อุตสาหกรรม  และพาณิชยกรรม  ตลอดจนการดำเนินชีวิตของพสกนิกรทุกกลุ่มอาชีพซึ่งพระองค์ได้ทรงทดลองจนเป็นที่ประจักษ์ว่า  หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่มีความเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันและอนาคต

 

 

รูปที่ 1 ตัวอย่างของเศรษฐกิจพอเพียง
ที่มา : http://paitoon0990.wordpress.com/ประวัติและความเป็นมาขอ/

1.1 ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี  ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ  และเมื่อภายหลังได้ทรงย้ำเน้นแนวทางแก้ไขเพื่อให้ยู่รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
จากเอกสารในการประชุม “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับเศรษฐกิจพอเพียง” สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (เมษายน 2543) ซึ่งได้ประมวลกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง”เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งพระราชทานในโอกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจพอเพียง ไว้ดังนี้

ความหมายเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชกระแสรับสั่งแนะแนวทางการดำเนินชีวิต โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง นับเนื่องมาจนถึงวันนี้ก็เป็นเวลา 1 ขวบปีพอดี วิกฤตการณ์เศรษฐกิจของประเทศก็ยังคงอยู่ สมควรที่พวกเราได้ทบทวนพระราชกระแสกันอีกสักครั้ง เพื่อให้พวกเราได้ “ใจดี สู้เสือ” กันต่อไป เพื่อนำให้ตัวเราและชาติบ้านเมืองได้ผ่านมรสุมร้ายที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ด้วยสติที่มั่นคง ปัญญาที่เฉียบแหลม และด้วยความรู้ ความเข้าใจ อย่างลึกซึ้ง เพื่อปรับวิถีชีวิตของพวกเราชาวไทยให้ยึดมั่นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างและยึดมั่นวิถีชีวิตไทย อันนำมาสู่พวกเราชาวไทยทุกหมู่เหล่าต่อไป ชั่วกาลนาน

ความหมาย : เศรษฐกิจพอเพียง
– เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่ง ๆในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ- เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามฐานะ ตามอัตภาพ และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด

      – หากกล่าวโดยสรุป คือ หันกลับมายึดเส้นทางสายกลางในการดำรงชีวิตหลักการพึ่งตนเอง
            ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งตนเอง มีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม มีจิตใจ เอื้ออาทร ประนีประนอม เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
            ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกัน เป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรง
เป็นอิสระล

ที่มา : http://krusuranart.com/index.php/2011-11-24-13-43-57/2011-12-01-17-45-55

ใส่ความเห็น