หน้าที่ชาวพุทธ

ชาวพุทธ  คือ  ผู้ที่เคารพเลื่อมใสและศรัทธาในพระรัตนตรัย  มีหน้าที่ในการศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา  ในความเคารพนับถือต่อพระรัตนตรัย  เอาใจใส่ทำนุบำรุง  และบำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดและพระสงฆ์  นอกจากนี้ยังต้องปฏิบัติตนอย่างมีมารยาท  ที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อพระสงฆ์  และนำแนวทางการปฏิบัติตนของพระสงฆ์มาเป็นแบบอย่างที่ดีงามในการดำเนินชีวิต

๑)  หน้าที่ชาวพุทธโดยทั่วไป
๑)  ด้านการศึกษาและปฏิบัติธรรม

ชาวพุทธที่ดีควรให้ความสนใจศึกษาค้นคว้าหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  และน้อมนำหลักธรรมที่ได้ศึกษาแล้วมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมแก่ฐานะของตน  รวมทั้งการแสดงความเป็นชาวพุทธที่ดีด้วยการทำบุญบำเพ็ญกุศล  เข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาในโอกาสสำคัญต่างๆ
 ๒)  ด้านการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
๒.๑)  การอุปถัมภ์พระภิกษุสามเณร
พระภิกษุสามเณรนอกจากมีหน้าที่ในการศึกษาธรรม  ปฏิบัติธรรม  และสั่งสอนธรรมแล้ว  ยังต้องปฏิบัติศาสนกิจอื่นๆ  เพื่อความดีงามและความสงบสุขของประชาชน  ด้วยการแนะนำสั่งสอนประชาชนให้เป็นคนดีมีคุณธรรม  ดังนั้นเพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูต่อคุณูปการของพระภิกษุสามเณร  ชาวพุทธที่ดีจึงควรช่วยอุปถัมภ์  บำรุงและส่งเสริมพระภิกษุสามเณร  เพื่อให้มีกำลังในการปฏิบัติศาสนกิจ  สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป
๒.๒)  การทำนุบำรุงวัดและพุทธศาสนสถาน
พระพุทธศษสนามีวัดเป็นศูนย์กลางสำหรับการบำเพ็ญกุศล  การฝึกอบรม  และการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน  โดยมีพระสงฆ์ในฐานะศษสนบุคคลเป็นผู้ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต  วัดจึงเป็นอุทยานการศึกษาเพราะเป็นแหล่งการเรียนรูสำคัญทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ  วัดบางแห่งยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติและมรดกโลก
๒.๓)  ด้านการปฏิบัติตนเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
ชาวพุทธที่ดี  คือ  ผู้ปฏิบัติตนในฐานะที่เป็นพลเมืองดีของชาติด้วยการดำรงตนอยู่ในกรอบของกฎหมาย  ปฏิบัติตนตามสิทธิและหน้าที่อย่างเหมาะสม  ไม่ละเมิดกฎระเบียบและกติกาของสังคม
๒.๔)  ด้านการปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาถือเป็นมรดกของชาติไทยที่บรรพบุรุษได้ปกป้องคุ้มครองมาด้วยชีวิต  เมื่อวิกฤตการณ์เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา  ชาวพุทธไม่ควรนิ่งดูดายและปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์เพียงฝ่ายเดียว  ควรช่วยกันแก้ไขระงับเหตุการณ์มิให้ลุกลามใหญ่โต

๒)  หน้าที่ของนักเรียนในฐานะที่เป็นชาวพุทธ
๑)  การเรียนรู้วิถีชีวิตของพระสงฆ์
พระสงฆ์  คือ  กลุ่มบุคคลที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในคำสอนของพระพุทธเจ้า  แล้วสละความเป็นคฤหัสถ์ไปดำเนินชีวิตตามแบบบรรพชิตด้วยการศึกษาเรียนรู้  ฝึกหัดตนเองตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า  และเมื่อสามารถพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมได้ในระดับนึงแล้ว  ก็นำหลักธรรมเหล่านั้นมาอบรมสั่งสอนประชาชนให้มีความรู้  ความเข้าใจในธรรมะ  และนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
๒)  การปฎิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อเพื่อน
พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันในสังคม  จึงมีคำสอนเรื่องการคบเพื่อน  และการปฏิบัติตนในฐานะที่เป็นเพื่อนที่ดี
   นอกจากหลักปฏิบัติต่อกันระหว่างเพื่อนที่ดีดังที่กล่าวแล้ว  การคบเพื่อนควรเรียนรู้ลักษณะของเพื่อน  ที่เรียกว่า  มิตรแท้-มิตรเทียม  เพื่อส่งเสริมประโยชน์และป้องกันโทษที่จะเกิดขึ้นจากการคบเพื่อน

อ้างอิง : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/2146-00/

ใส่ความเห็น