ทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สิน คือ วัตถุที่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น บ้าน ที่ดิน ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น ปัญญา คือ ความรอบรู้ ความรู้ทั่วไปความฉลาดเกิดแต่เรียนและความคิด เมื่อรวมทั้ง 2 คำเข้าด้วยกัน ทรัพย์สินทางปัญญา จึงหมายถึงความรู้ที่เกิดจากการคิดค้นจนทำให้เกิดมีค่าขึ้นได้ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ทรัพย์สินทางปัญญาได้แก่การที่ผู้ใดหรือคณะบุคคลใดร่วมกันประดิษฐ์คิดค้น ออกแบบ สร้างสรรค์ จนเกิดผลขึ้นมา และผลงานนั้นมีคุณค่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งงานเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม

ทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญอย่างไร  

ปัจจุบันทรัพย์สินทางปัญญานับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และควรค่าต่อการที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ด้วยเหตุผลที่ว่า การประดิษฐ์คิดค้น กรรมวิธีต่างๆ นั้น จุดกำเนิดของการได้มานั้นมาจากความคิดมาจากมันสมองผนวกกับระยะเวลาที่ทุ่มเทให้กับการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ทรงคุณค่าเป็นที่ภูมิใจของผู้ประดิษฐ์ ดังนั้นด้วยเหตุ นี้เองผลงานดังกล่าวจึงควรค่าแก่การคุ้มครอง จากเหตุที่กล่าวมาจึงได้มีการบัญญัติเป็นกฎหมายเพื่อให้การคุ้มครอง โดยมีพระราชบัญญัติสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ให้การคุ้มครองในหลักการรูปแบบที่แตกต่างกันไป

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

โดยทั่ว ๆ ไป คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า “ลิขสิทธิ์” ซึ่งใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยที่ถูกต้องแล้ว ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ที่เรียกว่า ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial property) และลิขสิทธิ์ (Copyright) ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมไม่ใช่สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม แท้ที่จริงแล้วทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมนี้เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม ความคิดสร้างสรรค์นี้จะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบ และรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อ และถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม สามารถแบ่งออก ได้ดังนี้

  •  สิทธิบัตร (Patent)
  •  เครื่องหมายการค้า (Trademark)
  •  แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Designs of Integrated Circuit)
  •  ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
  •  ชื่อทางการค้า (Trade Name)
  •  สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)

ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท

ลิขสิทธิ์ งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนตร์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์

สิทธิ์ข้างเคียง (Neighbouring Right) คือ การนำเอางานด้านสิทธิ์ออกแสดง เช่น นักแสดง ผู้บันทึกเสียงและสถานีวิทยุ โทรทัศน์ ในการบันทึกหรือถ่ายทอดเสียงหรือภาพ

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program หรือ Computer Software) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน

งานฐานข้อมูล (Database) คือ ข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ

สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์( Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด

การประดิษฐ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะ องค์ประกอบ โครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธี ในการผลิต การรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์เกิดความสวยงาม และแตกต่างไปจากเดิม

ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสิทธิบัตร ( Petty Patent) จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย

แบบผังภูมิของวงจรรวม หมายถึง แผนผังหรือแบบที่ทำขึ้น เพื่อแสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อของวงจรไฟฟ้า เช่น ตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น

เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้สินค้า หรือบริการ ได้แก่

4_2_566

– เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่อง หมายบริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น

– เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ เป็นต้น

– เครื่องหมายร่วม (Colective Mark) คือ เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กร อื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้าง ของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น

ปัจจุบันประเทศไทยได้ตรากฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาขึ้นจำนวนหนึ่งซึ่งจะได้ ขยายความรายละเอียดในบทต่อ ๆ ไป นอกเหนือจากความตกลง TIRPs ประเทศไทยเป็นภาคีเพียงอนุสัญญาเบิร์นเพื่อคุ้มครองงานวรรรกรรมและศิลปกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ขณะนี้ประเทศไทยภาคยานุวัตรอนุสัญญาเบิร์นฉบับแก้ไขปรับปรุงที่กรุงปารีส ปี ค.ส. 1971 แต่ประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพยืสินทางอุตสากรรม เช่นเดียวกับที่ยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีในความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาฉบับใดอีกเลย ถึงกระนั้นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาปัจจุบันของไทยก็ได้รับรองมาตรฐานระหว่างประเทศอย่างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อดุลยภาพในประโยชน์แห่งชาติและความร่วมมือระหว่างประเทศ พระราชบัญญัติสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้าเป็นสิ่งยืนยันแนวทางนี้ เพระขระที่มีการร่างกฎหมายเหล่านี้ก็ยอมรับกฎดกณฑ์นี้ใช้กันอย่างกว้างขวางโดยสมัครใจ

ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกของ WTO และเป็นประเทศกำลังพัฒนา การตรากฎหมายใหม่ตลอดจนการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สอดคล้องเป็นไปตามความตกลง TIRPs จะต้องทำให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000 ) ขณะที่เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000 ) กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งแก้ไขปรับปรุงและตราขึ้นเพื่อเป็นไปตามความตกลง TIRPs มีดังนี้

  1. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994)
  2. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)
  3. พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)
  4. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)
  5. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)

นอกเหนือจากกฎหมายดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีร่างกฎหมายอีก 2 ฉบับ ซึ่งอยู่ในขั้น
ตอนกระบวนการทางนิติบัญญัติ คือ กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองความลับทางการค้า

ที่มา: กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

ใส่ความเห็น