การเป็นพลเมืองดี

ความหมายและความสำคัญของเยาวชน

การพัฒนาเยาวชนไทยให้มีวามสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขนั้น จะต้องพัฒนาอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อให้เป็น “พลเมืองดี” ซึ่งหมายถึงบุคคลที่มีศีลธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม มีส่วนร่วมกับกิจกรรมของชุมชน และมีความรู้ในเรื่องการเมือง

เยาวชน คือผู้ที่มีอายุเกิน 14 ปีแต่ยังไม่ 25ปีบริบูรณ์ ถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อสังคมไทยอย่างยิ่ง ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในหนังสือชื่อ รัตนพินิจนิเทศการศึกษา ซึ่งได้สรุปถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กและเยาวชนไทย 3 ประการ ได้แก่

1. การมีความเพียรบริสุทธิ์ คือ ความขยันหมั่นเพียรไม่ท้อถอยในกิจการที่ทำ ซึ่งจะต้องมีทั้งความสามารถ คุณธรรม และจิตสำนึกในการกระทำ

2. การมีปัญญาที่เฉียบแหลม คือ ความฉลาดรู้และมีสติปัญญา ความคิดซึ่งเป็นคุณลักษณะของการรู้จริง รู้ครบถ้วน รู้เหตุผล รู้เท่าทัน รู้เชื่อมโยงความเป็นไทยกับความรู้สากล รู้จักตนเอง รู้จักสังคม

3. การมีกำลังกายที่สมบูรณ์ คือ การมีสุขภาวะทั้งกายและจิต

ความสำนึกต่อส่วนรวมหรือสาธารณะ

 “จิตสาธารณะ” หมายถึง “ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นส่วนรวม” หรือพูดและฟังได้ง่าย ๆ ว่า  “การตระหนักรู้ และคำนึงถึงการมีส่วนรวมร่วมกัน  การตระหนักรู้ตน ที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่มีความสัมพันธ์ที่เป็นสังคมเดียวกัน เป็นการแสดงออกเพื่อสังคมส่วนรวม การบริการชุมชน การทำประโยชน์เพื่อสังคม ถ้าเป็นวัตถุหรือสิ่งของทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้”  จิตสาธารณะ จึงเปรียบได้กับความรู้สึกนึกคิด ถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งทีเป็นสาธารณะร่วมกัน การใช้สิทธิและหน้าที่ที่จะดูแล รวมทั้งการบำรุงรักษาสิ่งของที่เป็นของส่วนรวมร่วมกัน พฤติกรรมที่แสดงออกถึงลักษณะดังกล่าวได้แก่

1. การรับผิดชอบต่อสาธารณะสมบัติและทรัพยากรธรรมชาติ

2. การทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม

3. การรับรู้และตระหนักถึงปัญหาที่่เกิดขึ้นในสังคมและมีการแก้ไขร่วมกัน

ใส่ความเห็น